จำนอง VS ขายฝาก ความแตกต่าง
จำนอง ขายฝาก คืออะไร?? ทั้ง2นิติกรรมมีความต่างกันอย่างไร?? อะไรดีกว่ากัน?? จำนองเหมาะกับใคร?? ขายฝากเหมาะกับใคร??
จำนองกับขายฝาก อสังหาริมทรัพย์ มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ทั้งในเรื่องของนิติกรรมสัญญา ภาษีที่ต้องเสีย วงเงินกู้ที่ลูกค้าได้รับ
ขออธิบายให้เข้าใจง่ายๆดังนี้
ความหมายของ"จำนอง"
การนำหลักทรัพย์(โฉนด) บ้าน ที่ดิน คอนโด
ไปค้ำประกันเงินกู้โดยไม่ต้องโอนสิทธิ์ความเป็นเจ้าของให้กับผู้รับจำนอง โดยต้องไปจดนิติกรรมต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ หากผู้จำนองมิได้ส่งดอกเบี้ย ทางผู้รับจำนอง ไม่สามารถยึดทรัพย์ได้ทันที จำเป็นต้องฟ้องร้องศาล และขายทอดตลาดจึงจะยึดทรัพย์ได้
ภาษีการจดจำนองก็แสนถูก แค่ 1% ของวงเงินกู้
เนื่องจากเป็นนิติกรรมที่ไม่โอนสิทธิ์ความเป็นเจ้าของให้ผู้รับจำนอง วงเงินกู้เลยได้ไม่สูง
ยอดอนุมัติจะได้สูงสุดไม่เกิน 35% ของมูลค่าซื้อขายปัจจุบันเท่านั้น
ผู้ที่เหมาะทำจำนอง คือคนที่ มีมูลค่าของหลักทรัพย์ค่อนข้างสูง แต่ใช้วงเงินต่ำก็สามารถจดจำนองได้
ความหมายของ"ขายฝาก"
การขายฝากเหมือนการนำทรัพย์สินไปจำนำที่โรงรับจำนำ หากแตกต่างกัน ที่หลักทรัพย์ที่นำมาจำนำเป็นโฉนด การขายฝากติดจะถูกโอน เป็นของผู้รับซื้อฝาก เหมือนการซื้อขาย ตั้งแต่วันแรกที่จดนิติกรรม แต่ด้วยสัญญามีสิทธิ์ที่จะซื้อคืนได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ซื้อคืน ตามระยะเวลาที่กำหนดหลักทรัพย์จะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที ส่วนเรื่องของภาษีก็เสียเหมือนซื้อขายเลย แต่วงเงินกู้ของขายฝากก็จะสูงกว่าจำนอง วงเงินกู้ขายฝากจะอยู่ที่ 50 ถึง 60 %ของมูลค่าซื้อขายปัจจุบัน ซึ่งสูงกว่านิติกรรมจำนองค่อนข้างมาก
ทั้งนี้การจะตัดสินใจทำนิติกรรมจำนองหรือขายฝาก ควรดูเหตุผลความจำเป็น หากใช้เงินไม่มาก แนะนำทำจำนองดีที่สุด หากมีความจำเป็นต้องใช้เงินเยอะ ขายฝากก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด